นาฏศิลป์ไทย
ประวัตินาฏศิลป์
นาฏศิลป์ เป็นศิลปะแห่งการละคร ฟ้อนรำ และดนตรี
อันมีคุณสมบัติตามคัมภีร์นาฏะหรือนาฏยะ กำหนดว่า
ต้องประกอบไปด้วยศิลปะ 3 ประการ คือ การฟ้อนรำ
การดนตรี และการขับร้อง รวมเข้าด้วยกัน ซึ่งทั้ง 3
สิ่งนี้เป็นกิจกรรมของคนมาแต่ดึกดำบรรพ์
นาฏศิลป์ไทยมีที่มาและเกิดขึ้นจากสาเหตุตามแนวคิดต่างๆ
เช่น เกิดจากความรู้สึกกระทบกระเทือนทางอารมณ์
ไม่ว่าจะอารมณ์แห่งความสุข หรือความทุกข์
แล้วสะทอ้นออกมาเป็นท่าทางแบบธรรมชาติและประดิษฐ์ขึ้นเป็นท่าทางลีลาการฟ้อนรำ
หรือเกิดจากลัทธิความเชื่อในการนับถือสิ่งศักดิ์สิทธิ์
เทพเจ้า โดยแสดงความเคารพบูชาด้วยการเต้นรำ ขับร้อง
ฟ้อนรำให้เกิดความพึงพอใจ เป็นต้น ประเภทของนาฏศิลป์ นาฏศิลป์ คือ การร่ายรำที่มนุษย์ได้ปรุงแต่งจากลีลาตามธรรมชาติให้สวสดงดงาม โดยมีดนตรีเป็นองค์ประกอบในการร่ายรำ นาฏศิลป์ของไทย แบ่งออกตามลักษณะของรูปแบบการแสดง เป็นประเภทใหญ่ๆ ได้ 4 ประเภท คือ
นอกจากนี้นาฏศิลป์ไทย ยังได้รับอิทธิพลแบบแผนตามแนวคิดจากต่างชาติเข้ามาผสมผสานด้วย เช่น วัฒนธรรมอินเดียเกี่ยวกับวรรณกรรมที่เป็นเรื่องของเทพเจ้า และตำนานการฟ้อนรำโดยผ่านเข้าสู่ประเทศไทยทั้งทางตรงและทางอ้อม คือผ่านชนชาติชวาและเขมร ก่อนที่จะนำมาปรับปรุงให้เป็นรูปแบบตามเอกลักษณ์ของไทย เช่น ตัวอย่างของเทวรูปศิวะปางนาฏราช ที่สร้างเป็นท่าการร่ายรำของพระอิศวร ซึ่งมีทั้งหมด 108 ท่า หรือ 108 กรณะ โดยทรงฟ้อนรำครั้งแรกในโลก ณ ตำบลจิทรัมพรัม เมืองมัทราส อินเดียใต้ ปัจจุบันอยู่ในรัฐทมิฬนาดู นับเป็นคัมภีร์สำหรับการฟ้อนรำ แต่งโดยพระภรตมุนี เรียกว่าคัมภีร์ภรตนาฏยศาสตร์ ถือเป็นอิทธิพลสำคัญต่อแบบแผนการสืบสานและถ่ายทอดนาฏศิลป์ของไทยจนเกิดขึ้นเป็นเอกลักษณ์ของตนเองที่มีรูปแบบ แบบแผนการเรียน การฝึกหัด จารีต ขนบธรรมเนียม มาจนถึงปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม บรรดาผู้เชี่ยวชาญที่ศึกษาทางด้านนาฏศิลป์ไทยได้สันนิษฐานว่า อารยธรรมทางศิลปะด้านนาฏศิลป์ของอินเดียนี้ ได้เผยแพร่เข้ามาสู่ประเทศไทยตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาตามประวัติการสร้างเทวาลัยศิวะนาฏราชที่สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 1800 ซึ่งเป็นระยะที่ไทยเริ่มก่อตั้งกรุงสุโขทัย ดังนั้นท่ารำไทยที่ดัดแปลงมาจากอินเดียในครั้งแรกจึงเป็นความคิดของนักปราชญ์ในสมัยกรุงศรีอยุธยา และมีการแก้ไขปรับปรุงหรือประดิษฐ์ขึ้นใหม่ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ จนนำมาสู่การประดิษฐ์ท่าทางร่ายรำและละครไทยมาจนถึงปัจจุบัน
|
|||||||||||||||||