1.
โขนกลางแปลง
เป็นการแสดงโขนในยุคแรกแสดงบนพื้นดินกลางสนามหญ้า
ไม่ต้องสร้างโรงเล่น
มีการแสดงในสมัยอยุธยาหลายครั้ง
เพราะการแสดงโขนกลางแปลงเป็นโขนแบบแรกที่เกิดขึ้น
นิยมแสดงแต่การยกทัพและรบกันระหว่างฝ่ายพระรามและฝ่ายทศกัณฐ์
โดยใช้ผู้แสดงเป็นพลยักษ์ และพลลิงจำนวนมาก
ปี่พาทย์ที่บรรเลงประกอบการแสดงในสมัยกรุงศรีอยุธยามีเพียงวงที่เรียกว่า
เครื่องห้า
ต่อมาในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์เพิ่มวงปี่พาทย์ให้มีสองวงเป็นอย่างน้อย
ปลูกเป็นร้านยกขึ้นตั้งวงปี่พาทย์
เพื่อให้ผู้บรรเลงเห็นตัวโขนได้ในระยะไกล
และมีความเป็นไปได้ว่าวงปี่พาทย์ที่บรรเลงประกอบการแสดงโขนกลางแปลงในอดีตน่าจะมีมากกว่าสองวง
เมื่อตัวโขนเข้าไปใกล้วงไหนวงนั้นก็จะบรรเลง
ส่วนการดำเนินเรื่องใช้เพียงการพากย์
เจรจาเท่านั้น ไม่มีการขับร้อง
2.
โขนนั่งราว หรือ
โขนโรงนอก
โขนนั่งราวเป็น
โขนโรงนอกเป็นโขนที่จัดแสดงบนโรง
ไม่มีเตียงสำหรับตัวนายโรงนั่ง
มีราวพาดตามส่วนยาวของโรง
ตรงหน้าฉากออกมามีช่องทางให้ผู้แสดงเดินได้รอบราวตัวโรงมีหลังคา
เมื่อตัวโขนแสดงบทของตนแล้วก็ไปประจำบนราว
สมมติเป็นเตียงหรือที่นั่งประจำตำแหน่ง
ไม่มีบทขับร้อง มีแต่บทพากษ์และบทเจรจา
ปี่พาทย์ก็บรรเลงแต่เพลงหน้าพาทย์
เพราะต้องบรรเลงเพลงหน้าพาทย์มากจึงใช้วงปี่พาทย์
2 วง วงหนึ่งตั้งหัวโรง วงหนึ่งตั้งท้ายโรง
หรือตั้งทางซ้ายและทางขวาของโรงจึงเรียกวงปี่พาทย์
2 วงนี้ว่า "วงหัว" "วงท้าย" หรือ"วงซ้าย"
"วงขวา"
จากจดหมายเหตุของ เดอ ลาลูแบร์
ที่กล่าวถึงการละเล่นบนเวทีในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
มีอยู่ 3 อย่าง คือ โขน ละคร ระบำ
ทำให้สันนิฐานได้ว่าโขนในสมัยนั้นดีมีการปลูกโรงให้เล่นแล้ว
และน่าจะเป็นลักษณะของโขนโรงนอกหรือโขนนั่งราวนี้เอง
โขนนอนโรง
ในเวลาบ่ายก่อนถึงวันแสดงหนึ่งวัน
ปี่พาทย์ทั้งสองวงจะบรรเลงเพลงโหมโรง
พวกแสดงจะออกมากระทุ้งเส้าตามจังหวะเพลงที่กลางโรง
จบการโหมโรงแล้วก็จะแสดงตอนพระพิราพออกเที่ยวป่าจับสัตว์กินเป็นอาหาร
พระรามหลงเจ้าสวนพวาทองของพระพิราพ
เสร็จการแสดงตอนนี้แล้วก็หยุดพัก
นอนเฝ้าโรงอยู่คืนหนึ่ง
ในตอนนี้เองคือที่มาของคำว่า "โขนนอนโรง"
รุ่งขึ้นจึงแสดงตามเรื่องที่จัดไว้ต่อไป
สำหรับการแสดงในวันนอนโรงนี้
ในสมัยโบราณจะเคยแสดงตอนอื่นหรือไม่นั้นยังไม่พบหลักฐาน
แต่เท่าที่ปรากฏมีเพียงแต่ตอนพิราพพบพระรามเท่านั้น
3. โขนหน้าจอ
เดิมเป็นการแสดงที่แทรกเข้าไปในการแสดงหนังใหญ่บางตอน
เมื่อนำโขนเข้ามาแสดงแทรกบ่อย ๆ เข้า
จึงให้มีการแสดงแต่โขนอย่างเดียวแล้วยกเลิกหนังใหญ่ไปในที่สุด
แล้วก็มีการพัฒนาปลูกโรงยกพื้นขึ้นและขึงจอผ้าขาวแบบจอหนังใหญ่
แต่แก้ไขให้มีประตูเข้าออกทั้งด้านซ้ายและด้านขวา
ด้านซ้ายของเวทีวาดเป็นรูปปราสาทราชวัง
สมมติเป็นกรุงลงกาหรือเมืองยักษ์
ส่วนด้านขวาของเวทีวาดเป็นรูปค่ายพลับพลาของพระราม
ด้านบนของจอวาดเป็นรูปเมขลารามสูร
และพระอาทิตย์พระจันทร์
ดำเนินเรื่องโดยการพากย์และเจรจา
ผู้แสดงเป็นตัวเทวดาและตัวพระไม่ต้องสวมหัวโขนปิดหน้าทั้งหมด
แต่สวมเครื่องประดับศีรษะที่เรียกว่าชฎาแทน
วงปี่พาทย์ที่บรรเลงประกอบการแสดงมีวงเดียว
เดิมตั้งอยู่บนเวทีต่ำกว่าเวทีโขนด้านหน้าโรง
หันหน้าเข้าหาผู้แสดง
ต่อมาได้มีการปรับเปลี่ยนให้วงปี่พาทย์ตั้งอยู่หลังจอ
4. โขนโรงใน
ได้รับการปรับปรุงผสมผสานโขนกับการแสดงละครใน
โดยนำเอาการขับร้องเพลงตามแบบละครในมาร้องแทรกในโขนด้วย
และยังมีการแสดงแบบจับระบำรำฟ้อนเช่นเดียวกับละครใน
จึงเรียกว่า โขนโรงใน
โขนโรงในต้องมีโรงสำหรับแสดงและมีฉากหลังเป็นม่านแบบในละครใน
การแสดงมีบทพากย์เจรจาแบบโขนและมีการขับร้องแบบละครใน
มีเตียงสำหรับตัวแสดงนั่งแบบละครใน
เวลาร้องเพลงและบรรเลงปี่พาทย์ต้องมีการตีกรับเป็นจังหวะแบบละครใน
ปี่พาทย์ที่ใช้บรรเลงประกอบการแสดงโขนหน้าจอใช้ปี่กลางที่มีเสียงสูง
ไม่เหมาะสำหรับการแสดงโขนโรงในเนื่องจากปี่กลางเสียงสูงเกินไป
ไม่เหมาะแก่การขับร้อง
ปี่กลางจึงถูกเปลี่ยนมาเป็นปี่ในตามเสียงที่ลดลงมา
วงปี่พาทย์ที่บรรเลงประกอบการแสดงโขนโรงในนั้นมีเพียงวงเดียว
แต่จะเป็นวงปี่พาทย์ชนิดใดก็ขึ้นอยู่กับฐานะของงาน
5. โขนชักรอก
เป็นวิวัฒนาการอีกขึ้นหนึ่งของการแสดงโขน
ซึ่งไม่ค่อยมีผู้เขียนไว้เป็นหลักฐาน
โขนชักรอกเป็นการแสดงที่ชักรอกตัวโขนให้ลอยขึ้นไปจากพื้นเวที
มีทั้งแบบโขนฉากและโขนหน้าจอ
ในเรื่องรามเกียรติ์มีบทบาทที่ต้องเหาะเหินเดินอากาศ
โขนชักรอกที่แสดงแบบโขนฉากกำเนิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่
6
เนื่องจากมีพระราชอาคันตุกะเข้ามาเมืองไทยอยู่เป็นประจำ
ทรงจัดให้มีการแสดงโขนรับรองพระราชอาคันตุกะเหล่านั้น
ส่วนโขนชักรอกที่แสดงแบบโขนหน้าจอมีคณะเอกชนนำไปแสดง
โขนชักรอกแบบการแสดงโขนหน้าจอไม่ค่อยเรียบร้อยและสวยงามเท่าโขนฉาก
เพราะโรงโขนหน้าจอไม่มีโครงหลังคาด้านบนที่แข็งแกร่งรับสายรอก
เวลาที่ชักรอกจึงเห็นลวดสลิงที่ผูกสายรอกห้อยยานลงมา