ประติมากรรมไทย
หมายถึง ผลงานศิลปะที่แสดงออกโดยกรรมวิธี การปั้น
การแกะสลัก การหล่อ หรือการประกอบเข้าเป็นรูปทรง 3
มิติ ซึ่งมีแบบอย่างเป็นของ ไทยโดยเฉพาะ
วัสดุที่ใช้ในการสร้างมักจะเป็น ดิน ปูน หิน อิฐ
โลหะ ไม้ งาช้าง เขาสัตว์ กระดูก ฯลฯ
ผลงานประติมากรรมไทย มีทั้งแบบ นูนต่ำ นูนสูง
และลอยตัว งานประติมากรรมนูนต่ำ และนูนสูงมักทำ
เป็นลวดลายประกอบกับสถาปัตยกรรม เช่นลวดลายปูนปั้น
ลวดลายแกะ สลักประดับตามอาคารบ้านเรือนโบสถ์ วิหาร
พระราชวัง ฯลฯ นอกจาก
นี้ยังอาจเป็นลวดลายตกแต่งงานประติมากรรมแบบลอยตัวด้วย
สำหรับงานประติมากรรมแบบลอยตัว มักทำเป็นพระพุทธรูป
เทวรูป รูปเคารพ ต่าง ๆ ตุ๊กตา ภาชนะดินเผา
ตลอดจนถึงเครื่องใช้ต่าง ๆ
ซึ่งมีลักษณะที่แตกต่างกันออกไปตามสกุลช่างของแต่ละท้องถิ่น หรือแตกต่างกันไป
ตามคตินิยมในแต่ละยุคสมัย
โดยทั่วไปแล้วเรามักศึกษาลักษณะของสกุล
ช่างที่เป็นรูปแบบของศิลปะสมัยต่าง ๆ
ในประเทศไทยจากลักษณะของ พระพุทธรูป เนื่องจาก
เป็นงานที่มีวิวัฒนาการมาอย่างต่อเนื่องยาวนาน
จัดสร้างอย่างปราณีตบรรจง ผู้สร้างมักเป็นช่างฝีมือที่เชี่ยวชาญที่สุดใน
ท้องถิ่นหรือยุคสมัยนั้น
และเป็นประติมากรรมที่มีวิธีการจัดสร้างอย่างศักดิ์สิทธิ์เปี่ยมศรัทธา
ลักษณะของประติมากรรมของไทยในสมัยต่างๆ
สามารถลำดับได้ดังนี้
1. ศิลปะทวารวดี
พุทธศตวรรษที่ 11 - 16
ศูนย์กลางของอาณาจักรทวาราวดีของชนชาติมอญ ละว้า
อยู่แถบ
นครปฐม ราชบุรี อู่ทอง
และกินพื้นที่ไปจนถึงภาคตะวันออก และภาค
ตะวันออกเฉียงหนือ แถบ บุรีรัมย์ ปราจีนบุรี
และขึ้นมาทางเหนือแถบ
ลำพูน ลักษณะสำคัญของพระพุทธรูปสมัยทวาราวดี คือ
พระเกตุมาลา
เป็นต่อมนูน และสั้น พระพักตร์แบนกว้าง พระหนุป้าน
พระนาฏแคบ
พระนาสิกป้านใหญ่ พระโอษฐ์หนา พระหัตถ์และพระบาทใหญ่
2.
ศิลปะศรีวิชัย พุทธศตวรรษที่ 13 - 18
อาณาจักรศรีวิชัยอยู่ทางภาคใต้ มีศูนย์กลางอยู่ที่ชวาภาคกลาง
และมีอาณาเขตมาถึงทางภาคใต้ของไทย มีการขุดค้นพบโบราณวัตถุ
สมัยศรีวิชัยอยุ่มากมายทั่วไป โดยเฉพาะที่เมืองไชยาจ.สุราษฎร์ธานี
นิยมสร้างรูปพระโพธิสัตว์มากกว่าพระพุทธรูป เนื่องจากสร้างตาม
ลัทธิมหายาน พระพุทธรูปสมัยศรีวิชัยมีลักษณะสำคัญ
คือ พระวรกาย
อวบอ้วนได้ส่วนสัด พระโอษฐ์เล็กได้สัดส่วน พระพักตร์คล้ายพระพุทธรูปเชียงแสน
3.
ศิลปะลพบุรี พุทธศตวรรษที่ 16 - 18
ศิลปะลพบุรีพบที่ภาคกลาง ภาคตะวันออก
และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตลอดจนในประเทศกัมพูชา
ซึ่งเป็นของชนชาติขอม แต่เดิมเป็นศิลปะขอม
แต่เมื่อชนชาติไทยเข้ามาครอบดินแดนแถบนี้
และมีการผสมผสานศิลปะขอมกับศิลปะไทย จึงเรียกว่า
ศิลปะลพบุรี
ลักษณะที่สำคัญของพระพุทธรูปแบบลพบุรีคือ
พระพักตร์สั้นออกเป็นรูปสี่เหลี่ยม มีพระเนตรโปน
พระโอษฐ์แบะกว้าง พระเกตุมาลาทำเป็นต่อมพูน บางองค์ เป็นแบบฝาชีครอบ พระนาสิกใหญ่
พระขนงต่อกันเป็นรูปปีกกา พระกรรณยาวย้อยลงมาและมีกุณฑลประดับด้วยเสมอ
4.
ศิลปะล้านนา พุทธศตวรรษที่ 16 - 21
ศิลปะล้านนา หรือ ศิลปะเชียงแสน
อยู่ทางตอนเหนือของประเทศไทย
และมีลักษณะเก่าแก่มาก
คาดว่ามีการสืบทอดต่อเนื่องของศิลปะทวาราวดี
และลพบุรี ในดินแดนแถบนี้มาตั้งแต่สมัยหริภุญชัย
ศูนย์กลางของศิลปะ
ล้านนาเดิมอยู่ที่เชียงแสน เรียกว่าอาณาจักรโยนก
ต่อมาเมื่อ พญามังราย
ได้ย้ายมาสร้างเมืองเชียงใหม่
ศูนย์กลางของของอาณาจักรล้านนาก็อยู่ที่
เมืองเชียงใหม่สืบต่อมาอีกเป็นเวลานาน
ลักษณะสำคัญของพระพุทธรูป
ศิลปะล้านนา ซึ่งมักเรียกว่า แบบเชียงแสน คือ
พระวรกายอวบอูม พระ
พักตร์อิ่ม ยิ้มสำรวม กระเกตุมาลาเป็นรูปต่อมกลม
และดอกบัวตูม ไม่มีไร
พระศก พระศกเป็นแบบก้นหอย
พระขนงโก่งรับพระนาสิกงุ้มเล็กน้อย
ชายสังฆาฏิสั้นเหนือพระถัน พระอุระนูนดังราชสีห์
ท่านั่งขัดมาธิเพชร
5.
ศิลปะสุโขทัย พุทธศตวรรษที่ 17 - 20
อาณาจักรสุโขทัย นับเป็นอาณาจักรแรกของคนไทย
ศิลปะสุโขทัยจึง
นับเป็นสกุลศิลปะแบบแรกของชนชาติไทย ที่ผ่านการคิดค้น
สร้างสรรค์ คลี่คลาย
สังเคราะห์ในแผ่นดินที่เป็นปึกแผ่น
มั่นคงจนได้รูปแบบที่งดงาม
พระพุทธรูปสุโขทัย
ถือว่ามีความงามตามอุดมคติไทยอย่างแท้จริง ลักษณะ
สำคัญของพระพุทธรูปสุโขทัย คือ พระวรกายโปร่ง
เส้นรอบนอกโค้งงาม ได้จังหวะ พระพักตร์รูปไข่ยาวสมส่วน
ยิ้มพองาม พระขนงโก่ง รับกับ
พระนาสิกที่งุ้มเล็กน้อย พระโอษฐ์แย้มอิ่ม ดูสำรวม
มีเมตตา พระเกตุมาลา รูปเปลวเพลิง
พระสังฆาฏิยาวจรดพระนาภี พระศกแบบก้นหอย ไม่มีไร
พระศก พระพุทธรูปศิลปะสุโขทัยมีความงดงามมาก
ที่มีชื่อเสียงมากได้แก่
พระพุทธชินราช พระพุทธชินสีห
์ พระศาสดา พระพุทธไตรรัตนายก และ พระพุทธรูปปางลีลา
นอกจากพระพุทธรูปแล้ว
ในสมัยสุโขทัยยังมีงาประติมากรรม
ที่มีชื่อเสียงอีกอย่างหนึ่งคือ เครื่องสังคโลก
ซึ่งเป็นเครื่อง ปั้นดินเผาสมัยสุโขทัยที่มีลักษณะเฉพาะ
มีชื่อเสียงไปทั่วโลก เครื่องปั้น ดินเผาสังคโลก
เป็นเครื่องปั้นดินเผาเคลือบ สีเขียวไข่กา สีน้ำตาล
สีใส เขียนทับลายเขียนรูปต่าง ๆ มี ผิวเคลือบแตกราน
สังคโลกเป็นสินค้าส่งออก
ที่สำคัญของอาณาจักรสุโขทัยที่ ส่งไปจำหน่ายนอกอาณาเขต
จนถึงฟิลิปินส์ อินโดนีเซีย และญี่ปุ่น
6.
ศิลปะอู่ทอง พุทธศตวรรษที่ 17 - 20
อาณาจักรอู่ทอง
เป็นอาณาจักรเก่าแก่ก่อนอาณาจักรอยุธยา ซึ่งมีความสัมพันธ์กับอาณาจักรต่างๆ
ได้แก่ ทวารวดี ศรีวิชัย ลพบุรี รวมทั้งสุโขทัย
ดังนั้นรูปแบบศิลปะจึงได้รับอิทธิพลของสกุลช่างต่างๆ ดังที่กล่าวมาแล้ว
ลักษณะสำคัญของพระพุทธรูปอู่ทอง คือ พระวรกายดูสง่า
พระพักตร์ขรึม ดูเป็นรูปเหลี่ยม
คิ้วต่อกันไม่โก่งอย่างสุโขทัยหรือเชียงแสน
พระศกนิยมทำเป็นแบบหนามขนุน
มีไรพระศก สังฆาฏิยาวจรดพระนาภี ปลายตัดตรง
พระเกตุมาลาทำเป็นทรงแบบฝาชี รับอิทธิพลศิลปะลพบุรี
แต่ยุคต่อมาเป็น แบบเปลวเพลิงตามแบบศิลปะสุโขทัย
7.
ศิลปะอยุธยา พุทธศตวรรษที่ 19 - 24
อาณาจักรอยุธยา เป็นอาณาจักรที่ยิ่งใหญ่
และมีอายุยาวนานถึง 417 ปี ตั้งแต่ พ.ศ. 1893 -
2310 ศิลปะอยุธยาที่เจริญรุ่งเรืองมีหลายแขนง
ได้แก่ การประดับมุก การเขียนลายรดน้ำ
ลวดลายปูนปั้น
การแกะสลักไม้ และ เครื่องปั้นดินเผาลายเบญจรงค์
ฯลฯ ศิลปะการสร้างพระพุทธรูปในสมัย อยุธยาไม่ค่อยรุ่งเรืองนัก
ไม่มีลักษณะเฉพาะที่เด่นชัด ลักษณะทั่วไปจะเป็น
การผสมผสานศิลปะแบบอื่นๆ มีพระวรกายคล้ายกับพระพุทธรูปอู่ทอง
พระพักตร์ยาวแบบสุโขทัย พระเกตุมาลาเป็นหยักแหลมสูงรูปเปลวเพลิง พระขนงโก่งแบบสุโขทัย
สังฆาฏิใหญ่ปลายตัดตรง หรือสองแฉกแต่ไม่
เป็นเขี้ยวตะขาบ แบบเชียงแสน หรือสุโขทัย
ตอนหลังนิยมสร้างพระพุทธ รูปทรงเครื่องแบบกษัตราธิราช
8.
ศิลปะรัตนโกสินทร์ พุทธศตวรรษที่ 25 -
ปัจจุบัน
ศิลปะรัตนโกสินทร์ในตอนต้น เป็นการสืบทอดมาจากสกุลช่างอยุธยา
ไม่ว่าจะเป็น การเขียนลายรดน้ำ ลวดลายปูนปั้น
การแกะสลักไม้ เครื่องเงิน เครื่องทอง
การสร้างพระพุทธรูป ล้วนแต่สืบทอดความงามและวิธีการ
ของศิลปะอยุธยาทั้งสิ้น ต่อมา ในสมัยรัชกาลที่ 4
มีการติดต่อกับชาวต่างชาติ มากขึ้นโดยเฉพาะชาติตะวันตก
ทำให้ลักษณะศิลปะตะวันตกหลั่งไหลเข้าสู่ ประเทศไทย
และมีอิทธิพลต่อศิลปะไทยในสมัยต่อมา
หลังจากการเสด็จประพาสยุโรปทั้ง 2 ครั้งของ
พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 ได้มีการนำเอาแบบอย่าง
ของศิลปะตะวันตกเข้ามาผสมผสานกับศิลปะไทย ทำให้ศิลปะไทยแบบประเพณี
ซึ่งเป็นแบบดั้งเดิม
มีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบไปเป็นศิลปะไทย แบบร่วมสมัย
ในที่สุด
ลักษณะของพระพุทธรูปเน้นความเหมือนจริงมากขึ้น เช่น
พระศรีศากยทศพลญาณ ฯ
พระประธานพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม
เป็นพระพุทธรูปปางลีลาโดยการผสมผสานความงามแบบสุโขทัยเข้ากับความเหมือนจริง
เกิดเป็นศิลปะการสร้างพระพุทธรูปในสมัยรัตนโกสินทร์
|