ประวัติหรือเนื้อร้อง (ถ้ามี)
เพลงค้างคาวกินกล้วยเป็นเพลงสั้นๆ
ซึ่งนิยมใช้บรรเลงร้องเล่นประกอบการแสดงละครในฉากที่เป็นป่าเขาลำเนาไพร
หรือใช้บรรเลงเพื่อประกอบกิริยาการเดินทางของตัวละครที่เป็นตัวตลก
เนื่องจากทำนองเพลงส่อเค้าอารมณ์เป็นเช่นนั้น
เพลงสั้นๆ
ซึ่งใช้บรรเลงประกอบการแสดงละครนั้นมีมากมายหลายเพลง
มักจะบรรเลงต่อเนื่องกันไปเป็นชุด
เพราะมีท่วงทำนองคล้ายคลึงกัน
ดังนั้นจึงเป็นเหตุให้มีการเรียกชื่อเพลงสับกันอยู่บ่อยๆ
อย่างเช่นกรณีของเพลงค้างคาวกินกล้วยเป็นต้น
ด้วยเหตุนี้เพลงที่รู้จักกันในชื่อ
ค้างคาวกินกล้วย
จึงอาจจะไม่ใช่ทำนองเพลงค้างคาวกินกล้วยที่แท้จริง
แต่เป็นทำนองเพลงชื่ออื่นซึ่งเข้าใจสับสนกันมา
เพื่อให้เข้าใจได้ชัดเจนขึ้น
ลองพิจารณาดูรูปแบบของทำนองเพลงจากโน้ตต่อไปนี้ดูนะครับ
โน้ตเพลงลิงกับเสือ (รู้จักกันในชื่อ ค้างคาวกินกล้วย)
-ร-ด ดด-ล ดล ซล ดล ซล ดลซฟ -ซ-ล
-ร-ด ดด-ล ดล ซล ดล ซล ดลซฟ -ซ-ฟ
- -ซ-ซ ลซ ฟซ ลซฟซ ลซฟม รดรม -ฟ-ซ
- -ซ-ซ ลซ ฟซ ลซฟซ ลฟซล ดลซฟ -ม-ร
- -ร-ร ฟร ดล-ด -ล-ร ดล-ด รดลด รฟ-ร
- -ร-ร ฟร ดล-ด -ล-ร ดล-ด -ล-ซ ดลลล
โน้ตเพลงข้างบนเป็นทำนองเพลงที่นักดนตรีไทยส่วนใหญ่เรียกว่า เพลงลิงกับเสือ ซึ่งเป็นเพลงเกร็ดเพลงหนึ่งที่บรรเลงต่อเนื่องกันอยู่ในชุดเดียวกับเพลงค้างคาวกินกล้วย ท่วงทำนองเพลงนี้เมื่อฟังให้ดีจะเห็นว่า มีลีลาคล้ายกับลิงกำลังทำท่าขย่มตัวหลอกล้อเสือเล่น แต่ปรากฏว่าปัจจุบันทำนองเพลงนี้กลับรู้จักกันในชื่อ เพลงค้างคาวกินกล้วย จึงน่าสงสัยว่าที่จริงแล้วเพลงนี้คือเพลงอะไรกันแน่ ?
ถ้าหากทำนองเพลงตามโน้ตข้างบนคือเพลงลิงกับเสือจริงๆแล้ว ถ้าเช่นนั้นทำนองเพลงค้างคาวกินกล้วยจะเป็นอย่างไร ? ผู้เขียนทราบว่ามีเพลงไทยประเภท เพลงเกร็ด ทำนองสั้นๆจำนวนมาก ถูกนำไปใส่เนื้อร้องสำหรับสอนเด็กทางวิทยุโรงเรียน โดยคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิทางด้านดนตรีไทยหลายท่าน ซึ่งมี คุณหญิงชิ้น ศิลปบรรเลง (คุณป้าของผู้เขียน) อาจารย์บรรเลง สาคริก (คุณแม่ของผู้เขียน) ร่วมเป็นกรรมการจัดทำเพลงชุดนี้อยู่ด้วย จึงลองไปค้นโน้ตเพลงและบทร้องเพลงของวิทยุโรงเรียนดู ก็พบว่ามีบทเพลงหนึ่งซึ่ง คุณหญิงชิ้น ศิลปบรรเลง เป็นผู้นำมาบรรจุไว้ในชื่อว่า เพลงค้างคาว และระบุว่าใช้ทำนองเพลงที่ชื่อ ค้างคาวกินกล้วย มีคำร้องดังนี้
บทร้องเพลงค้างคาวกินกล้วย
ตัวอะไร เกาะไม้หัวห้อย ไปดูกันหน่อยว่าตัวอะไร ไหน ที่ไหนมัน เกาะอยู่แห่งใด
อ๋อ ตัวนี้ไง เรียกว่าค้างคาว กลางวันหวั่นภัยเร้นกายหลบนอน กลางคืนซอกซอน
ออกหากินตาวาว มันกินอะไรรู้ไหมเล่าเธอ กินกล้วยซิเกลอแทะทั้งเครือยาวยาว
เมื่อนำมาขับร้องและบรรเลงร่วมกับทำนองดนตรีที่คุณหญิงชิ้นฯเขียนไว้ในวิทยุโรงเรียน ดังโน้ตที่แสดงไว้ข้างล่างก็พบว่า มีความเข้ากันได้อย่างกลมกลืนพอดี
โน้ตเพลงค้างคาวกินกล้วย (ที่คุณหญิงชิ้นบันทึกไว้ในวิทยุโรงเรียน)
ตัว
อะไร
เกาะไม้
หัวห้อย
ไปดู
กันหน่อย
ว่าตัว
อะไร
-รรร
-ล-ร
ลร
-ด-ล
-รรร
-ด-ล
-ซ-ด
รม
ไหน
ที่ไหนมัน
เกาะอยู่
แห่งใด
อ๋อ
ตัวนี้ไง
เรียกว่า
ค้างคาว
-ซ
มซ-ม
รด
-ร-ม
-ซ
มซ-ม
รด
-ร-ด
กลางวัน
หวั่นภัย
เร้นกาย
หลบนอน
กลางคืน
ซอกซอน
ออกหากิน
ตาวาว
-ดดด
-ล-ด
รมรด
-ล-ด
-ดดด
-ล-ด
-ลรด
-ลลล
มันกิน
อะไร
รู้ไหม
เล่าเธอ
กินกล้วย
ซิเกลอ
แทะทั้งเครือ
ยาวยาว
-ดดด
-ล-ด
รมรด
-ล-ด
-ดดด
-ล-ด
-ลรด
-ลลล
เมื่อพิจารณาเปรียบเทียบดูทำนองของโน้ตชุดใหม่นี้ กับโน้ตเพลงลิงกับเสือ ซึ่งเข้าใจกันว่าเป็นเพลงค้างคาวกินกล้วยแล้ว จะพบว่ามีความแตกต่างกันคือ ถ้าบรรเลงด้วยโน้ตชุดแรก ทำนองดนตรีกับคำร้องจะไม่สามารถเข้ากันได้ แต่ถ้าบรรเลงด้วยโน้ตชุดหลัง ทำนองดนตรีกับทำนองร้องจะเข้ากันได้พอดี จึงน่าจะเชื่อได้ว่าทำนองดนตรีที่คุณหญิงชิ้น ศิลปบรรเลง เรียกว่า ค้างคาวกินกล้วย นั้นน่าจะถูกต้อง ดังตัวอย่างบทร้องที่ยกมาจากหนังสือที่ระลึกงานฉลอง 80 ปีของคุณหญิงชิ้น ศิลปบรรเลง ก่อนหน้านี้